วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เอ็ม1 กาแรนด์

เอ็ม1 กาแรนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปืน M1 Garand
ปืน M1 Garand พร้อมคลิปกระสุนแบบ en bloc
ปืน M1 Garand
ชนิดปืนเล็กยาวจู่โจม
สัญชาติFlag of the United States USA
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
การใช้งานอาวุธประจำกาย
เป้าหมายบุคคล
เริ่มใช้1939
ช่วงผลิต1936-1957
ช่วงการใช้งาน1936-1957
ผู้ใช้งาน
สงครามสงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม
ขนาดลำกล้อง0.30 นิ้ว (7.62 มิลลิเมตร) 4 เกลียว เวียนขวา
ระยะครบรอบเกลียว10 นิ้ว (1:10)
ความยาวลำกล้อง24 นิ้ว (609.6 มิลลิเมตร)
กระสุน.30-06 Springfield
ซองกระสุนแบบ En Bloc ความจุ 8 นัด
ระบบปฏิบัติการขับดันด้วยก๊าซ (Gas-operated) ขัดกลอนด้วยลูกเลื่อนหมุนตัว (Rotating Bolt)
อัตราการยิง
ความเร็วปากลำกล้อง2,800 ฟุต/วินาที (853 เมตร/วินาที)
ระยะยิงหวังผล440 หลา (402 เมตร)
ระยะยิงไกลสุด3,450 หลา (3,200 เมตร)
น้ำหนัก9.5 ปอนด์ (4.31 กก.) น้ำหนักปืนเปล่า
11.6 ปอนด์ (5.3 กิโลกรัม) น้ำหนักปืนพร้อมกระสุน
ความยาว43.5 นิ้ว (1,107.4 มิลลิเมตร)
แบบอื่นM1C, M1D
ปืน M1 Garand เป็นอาวุธปืนเล็กยาวประจำกายขนาด 0.30 นิ้ว ที่เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามเกาหลี ออกแบบโดยจอห์น ซี กาแรนด์ (John C. Garand) ชาวแคนาดา เชื้อสายฝรั่งเศส ตามโครงการจัดหาปืนเล็กยาวขนาด 0.30 นิ้วรุ่นใหม่ทดแทนปืนเล็กยาว M1903 Springfield ที่ทยอยปลดประจำการไปให้กองกำลังท้องถิ่น
ปืน M1 Garand มีคุณสมบัติในการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ ความแม่นยำสูง สามารถเล็งยิงซ้ำได้อย่างรวดเร็ว ตอนแรกนายการ์แรนด์ได้ออกแบบปืน M1 Garand ให้ใช้กับกระสุนขนาด 7×51 มิลลิเมตร (.276 Pedersen) และสามารถบรรจุในคลิปกระสุนได้ 10 นัด แต่เมื่อกองทัพสหรัฐฯรับมาพิจารณาใน ค.ศ.1932 ก็มีคำสั่งให้ใช้กระสุน .30-06 ทำให้ความจุเหลือเพียง 8 นัด และรับเข้าประจำการเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1936 ให้ชื่อเป็นทางการว่า United States Rifle, Caliber .30, M1 และเข้าประจำการในกองทัพบกเป็นหน่วยแรก ภายหลังได้มีการพัฒนาอุปกรณ์พิเศษ เช่น กล้องเล็ง เครื่องยิงลูกระเบิด ดาบปลายปืน รวมถึงการพัฒนาในโครงการต่างๆเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของปืนรุ่นนี้ เช่น การพัฒนาให้สามารถใช้ซองกระสุน 20 นัดของปืนเล็กกล Browning Automatic Rifle (BAR) ได้ในโครงการ T20
ปืน T20 ตัวต้นแบบ
ปัจจุบันกองทัพสหรัฐฯได้ปลดประจำการปืน M1 Garand ทั้งหมดและประจำการด้วยปืนเอ็ม 16 แทน โดยปืนบางส่วนทางการสหรัฐฯได้มอบให้แก่กองกำลังท้องถิ่นและมิตรประเทศตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางทหาร (JUSMAG) ในช่วงสงครามเย็นซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยประเทศไทยได้รับมอบปืนรุ่นนี้สำหรับใช้ในภารกิจปราบปรามและรักษาความสงบภายในประเทศ ก่อนจะทยอยปลดประจำการเป็นอาวุธสำรองราชการและใช้เป็นปืนฝึกท่าอาวุธสำหรับนักศึกษาวิชาทหารในภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น